วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สมุนไพร พริกหยวก

ชื่อวิทยาศาสตร์ พริกหยวก capsicum annuum linn จัดอยู่ในวงศ์ solanaceae เช่นเดียวกับพริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกหวาน
ชื่อสามัญ Banana Pepper, Paprika, Garden Pepper, Chili Pepper, Chili Plant, Red Pepper, Spanish pepper, Sweet Pepper[1],[2]
สมุนไพรพริกหยวก ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า พริกหนุ่ม (พายัพ), พริกตุ้ม พริกตุ้มนาก (ไทย), พริก พริกซ่อม (ทั่วไป) เป็นต้น

ลักษณะของพริกหยวก

ต้นพริกหยวกเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาเขตร้อน จัดเป็นไม้ล้มลุกฤดูเดียวหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 0.5-1.5 เมตร ลำต้นตั้งตรงและแตกกิ่งก้านมาก โคนต้นเป็นเนื้อไม้แข็ง ส่วนยอดเป็นเนื้อไม้อ่อน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีปลูกทั่วไปในประเทศที่มีอากาศร้อนต้นพริกหยวก

ใบพริกหยวก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-16 เซนติเมตร ส่วนก้านใบยาวได้ถึง10 เซนติเมตร

ใบพริกหยวกดอกพริกหยวก ออกเป็นดอกเดี่ยวตากซอกใบ กลีบดอกเป็นสีขาวนวลเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังหรือรูปปากแตร ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก (แต่อาจจะมีกลับตั้งแต่ 4-7 กลีบก็ได้) โดยปกติจะมีเกสรเพศผู้ 5 อัน เท่ากับจำนวนกลีบดอก เกสรนี้จะแตกออกมาจากตรงโคนของกลีบดอก อับเกสรเพศผู้มักมีสีน้ำเงินและแยกตัวเป็นกระเปาะเล็กๆ ยาวๆ ส่วนเกสรเพศเมียจะชูขึ้นเหนือเกสรเพศผู้ ส่วนของยอดเกสรเพศเมียจะมีรูปร่างคล้ายกระบอกหัวมนๆ รังไข่มีพู 3 พู (อาจจะมี 2 หรือ 4 พูก็ได้) และดอกมีลักษณะห้อยลง[1],[2]

ดอกพริกหยวก
ผลพริกหยวก ผลสดมีหลายรูปร่างและหลายขนาด โดยมากมักเป็นรูปกรวยกว้าง หรือมีลักษณะตั้งแต่แบนๆ กลมยาว ไปจนถึงพองอ้วน และสั้น ยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร ผลมีลักษณะเป็นกระเปาะ มีฐานขั้วผลสั้นและหนา ผลอ่อนเป็นสีเขียว เหลือง ครีม หรือสีม่วง เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดง สีส้ม สีเหลือง หรือสีน้ำตาล โดยปกติแล้วผลอ่อนมักจะชี้ขึ้น ส่วนผลแก่อาจชี้ขึ้นหรือห้อยลงตามแต่สายพันธุ์ที่ปลูก ภายในมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปโล่กลมแบน สีเหลืองอ่อนไปจนถึงสีน้ำตาล (เมล็ดจะเกาะรวมกันอยู่ที่รก (Placenta) ซึ่งจะมีตั้งแต่โคนผลจนถึงปลายผล)
ผลพริกหยวก

สรรพคุณของพริกหยวก

  1. สาร Capsaisin ในผลเป็นตัวช่วยทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง จึงช่วยในการบำบัดโรคเบาหวานได้ (ผล)[2]
  2. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ (ผล)[2]
  3. ช่วยบำรุงเลือดลม (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[2]
  4. ผลมีรสเผ็ด (แต่เมล็ดไม่มีรสเผ็ด) เนื่องมาจากสาร Capsaisin ใช้ในปริมาณน้อยๆ จะมีสรรพคุณช่วยกระตุ้นน้ำย่อย (ผล)[1]
  5. ผลมีสรรพคุณช่วยขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ (ผล)[2]
  6. ช่วยขับปัสสาวะ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[2],[5]
  7. ช่วยแก้กามโรม (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[5]
  8. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย (ผล)[2]
  9. ยาดองเหล้าพริก (Tincture of Capsaicin) สามารถนำมาใช้ผสมในขี้ผึ้ง ใช้เป็นยาทาถูนวด และ Plaster ทาภายนอก เป็นยารักษาอาการปวดเมื่อย ไขข้ออักเสบได้ เพราะทำให้บริเวณที่ถูกทาร้อนและมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น (ยาดองเหล้าพริก)

    ประโยชน์ของพริกหยวก

    1. พริกหยวกที่เรานำมาใช้ประกอบอาหารยังประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยคุณค่าทางโภชนาการของพริกหยวก ต่อ 100 กรัม จะประกอบไปด้วย พลังงาน 27 กิโลแคลอรี่, โปรตีน 1.5 กรัม, ไขมัน 0.2 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 4.8 กรัม, ใยอาหาร 3.2 กรัม, เบตาแคโรทีน 8.88 ไมโครกรัม, วิตามินบี1 0.41 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.08 มิลลิกรัม, วิตามินบี3 1.3 มิลลิกรัม, วิตามินซี 14 มิลลิกรัม, แคลเซียม 11 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 0.1 กรัม, ฟอสฟอรัส 47 มิลลิกรัม (ข้อมูลจาก : กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข)
    2. ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด อาการไอ ทำให้ระบบการหายใจสะดวกยิ่งขึ้น โดยสารแคปไซซินที่อยู่ในพริกนั้นจะมีคุณสมบัติในการช่วยลดน้ำมูกหรือลดปริมาณของสารที่ขัดขวางระบบการหายใจให้ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ไซนัส หรือไข้หวัด สารแคปไซซินยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของตัวยาหลายชนิด นอกจากนี้ยังมีเบต้าแคโรทีนที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อต่างๆ ในบริเวณเนื้อเยื่อบุผนังช่องปาก จมูก ลำคอ และปอด[4]
    3. พริกเป็นพืชผักที่มีวิตามินซีซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสูง การบริโภคอาหารที่มีวิตามินซีมากๆ จะช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ ได้[4]
    4. การบริโภคพริกเป็นประจำสามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงของการอุดตันของเส้นเลือดที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจล้มเหลวได้ เพราะพริกสามารถช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้นได้และช่วยลดความดัน เนื่องจากในพริกมีสารเบต้าแคโรทีนและวิตามินซีที่ช่วยเพิ่มการยืดตัวของผนังหลอดเลือด ช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรง ทำให้ปรับตัวเข้ากับแรงดันในระดับต่างๆ ได้ดี[4]
    5. สาร Capsaicin ในพริกยังช่วยป้องกันไม่ให้ตับสร้างไขมันเลว (LDL) ซึ่งเป็นผลเสียต่อสุขภาพ และในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้การสร้างไขมันชนิดดี (HDL) ให้มากยิ่งขึ้น จึงทำให้ปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ในเลือดต่ำลง จึงเป็นผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค[4]
    6. สาร Capsaicin มีส่วนในการส่งสัญญาณให้ต่อมใต้สมองสร้างสาร endorphin ขึ้น ซึ่งสารชนิดนี้มีคุณสมบัติคล้ายกับมอร์ฟีน คือ ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด ในขณะเดียวกันยังช่วยสร้างอารมณ์ให้ดีขึ้นได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีผลการทดลองใหม่ๆ ที่ระบุว่าสาร Capsaicin สามารถช่วยลดอาการปวดศีรษะและไมเกรนลงได้อีกด้วย[4]
    7. ในปัจจุบันมีการใช้สาร Capsaicin เป็นส่วนประกอบของขี้ผึ้ง ที่นำมาใช้ทาเพื่อบรรเทาอาการปวดอันเนื่องมาจากผดผื่นและผื่นแดงบริเวณผิวหนัง รวมทั้งอาการปวดที่เกิดจากเส้นเอ็น ข้อต่ออักเสบ โรคเก๊าท์ เป็นต้น[4]
    8. นอกจากนี้ยังยังมีการนำพริกชนิดต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารสัตว์เพื่อทดแทนสารปฏิชีวนะ ใช้ไล่แมลงศัตรูพืช ใช้ป้องกันไม่ให้เพรียงมาเกาะท้องเรือ เป็นต้น[4]
    9. ประโยชน์ทางด้านอาหารของพริกหยวก พริกหยวกมีรสไม่เผ็ดมาก จึงสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง โดยนิยมเอาผลอ่อนมาทำผัดเปรี้ยวหวาน ผัดพริกหยวกใส่หมูรับประทานกับข้าวร้อนๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น